⊗ บทที่ 4 โครงงานคอมพิวเตอร์  ⊗

⊗ บทที่ 4 โครงงานคอมพิวเตอร์  ⊗

ความสำคัญของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์

โครงงานคอมพิวเตอร์ คือ ผลงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าตามความสนใจ ความถนัดและความสามารถของผู้เรียน โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โครงงานจึงเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยผู้เรียนจะหาหัวข้อโครงงานที่ตนเองสนใจ รวมทั้งเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ และความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสร้างผลงานตามความต้องการได้อย่างเหมาะสม โดยมีครูเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำ 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ gif cute

 

 

 

ความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์

โครงงานคอมพิวเตอร์ คือ ผลงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าตามความสนใจ ความถนัดและความสามารถของผู้เรียน โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โครงงานจึงเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการเน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ โดยผู้เรียนจะหาหัวข้อโครงงานที่ตนเองสนใจ รวมทั้งเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ และความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสร้างผลงานตามความต้องการได้อย่างเหมาะสม โดยมีครูเป็นที่ปรึกษาและให้ค าแนะน าความสามารถที่เกิดจากการท าโครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญ 5 ประการดังนี้

  1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถที่เกิดจากการที่นักเรียนเป็นผู้ทำโครงงานต้องนำเสนอผลงานให้ ครูและเพื่อนนักเรียนให้เข้าใจโครงงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างชัดเจน ดังนั้น ผู้ทำโครงงานต้องสื่อสารความคิดในการสร้างสรรค์โครงงานด้วยการเขียน หรือด้วยปากเปล่า รวมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่อ

อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อนำเสนอแนวคิดในการจัด โครงงานให้ผู้อื่นได้เข้าใจ

  1. ความสามารถในการคิด ซึ่งผู้เรียนจะมีการคิดในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

2.1 การคิดวิเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องวิเคราะห์ปัญหาและแยกแยะสาเหตุว่าเกิดเนื่องจากอะไร

2.2 การคิดสังเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องน าความรู้ต่าง ๆ ที่เรียนมา รวมทั้งความรู้จากการค้นหาข้อมูล เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์โครงงาน

2.3 การคิดอย่างสร้างสรรค์ เกิดจากการที่ผู้เรียนน าความรู้มาสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ

2.4 การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เกิดจากการที่ผู้เรียนได้มีการคิดไตร่ตรองว่าควรทำโครงงานใดและไม่ควรทำโครงงานใด เนื่องจากโครงงานที่สร้างขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม เช่น โครงงานระบบคำนวณเลขหวย ส าหรับหาเลขที่คาดว่าสลากกินแบ่งรัฐบาลจะออกในแต่ละงวด อาจส่งผลกระทบต่อ

สังคม ท าให้คนในสังคมเกิดความหมกมุ่นในกับการใช้เงินเล่นหวยมากขึ้น

2.5 การคิดอย่างเป็นระบบ เกิดจากการที่ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน โดยใช้ขั้นตอนในการพัฒนาโครงงาน คือ ผู้เรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษา ค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูล พัฒนา หรือประดิษฐ์คิดค้นผลงาน รวมทั้งการสรุปผลและการน าเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีผู้สอนและ

ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ให้คำปรึกษา ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ gif cute 

  1. ความสามารถในการแก้ปัญหา เกิดจากการที่ผู้เรียนวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจ และอธิบายปัญหาทางด้านคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
  2. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
  3. เกิดจากการที่ผู้เรียนได้น าความรู้และกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการพัฒนาโครงงาน และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ าวันได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการพัฒนาโครงงาน ก่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
  4. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เกิดจากการที่ผูเรียนสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีคุณธรรม

 

ประเภทของโครงงาน

  โครงงานคอมพิวเตอร์มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักวิธีการออกแบบ เริ่มตั้งแต่กำหนดคุณสมบัติของสิ่งที่ต้องการออกแบบ การรู้จักเลือกใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ และมีความคิดสร้างสรรค์
โครงงานคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งได้ 5 ประเภท ดังนี้
1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
2.โครงงานพัฒนาเครื่องมือ          
3.โครงงานทดลองทฤษฎี
4.โครงงานประยุกต์ใช้งาน
5.โครงงานพัฒนาโปรแกรมประยุกต์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ gif butterfly

ขั้นตอนการพัฒนาโครงการคอมพิวเตอร์

การจัดการโครงงานคอมพิวเตอร์ ถือเป็นกระบวนการในการทำโครงงานที่ต้องดำเนินการอย่างเป็นลำดับขั้นตอน เพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุดต่อการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.    การคัดเลือกหัวข้อโครงงาน
2.    การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
3.    การจัดทำข้อเสนอโครงงาน
4.    การพัฒนาโครงงาน
5.    การเขียนรายงานโครงงาน
6.    การนำเสนอและแสดงโครงงาน

 

การจัดรูปเล่มรายงานพัฒนาโครงงาน

การเขียนรายงานโครงงานหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ารายงานฉบับสมบูรณ์ มีรูปแบบยืดหยุ่นตามประเภทของโครงงานที่ทำ ขอให้เป็นการนำข้อมูลต่าง ๆที่มีอยู่แล้ว มาจัดระบบ ทำให้ผู้อ่านสามารถ
เข้าใจได้ว่าโครงงานทำเกี่ยวกับอะไร แต่ขอให้ครอบคลุมหัวข้อต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. ส่วนนำ เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงาน ซึ่งประกอบด้วย
    >> ชื่อโครงงาน
    >> ชื่อประเภทของโครงงาน
    >> ชื่อผู้ทำโครงงาน
    >> ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
    >> คำขอบคุณหรือกิตติกรรมประกาศ โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมที่ได้รับความช่วยเหลือและร่วมมือจากหลายฝ่าย จึงควรกล่าวขอบคุณบุคลากรหรือหน่วยงานต่างๆ ที่มีส่วนช่วยให้โครงงานนี้สำเร็จ
    >> บทคัดย่อ อธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และผลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปต่างๆ อย่างย่อ (ประมาณ 250-400 คำ)
 
2. บทนำ เป็นส่วนรายละเอียดของเนื้อหาของโครงงานซึ่งประกอบด้วย
    >> ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
    >> วัตถุประสงค์
    >> ขอบเขตของโครงงาน
 
3. หลักการและทฤษฎี เป็นส่วนสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหาข้อมูลหรือหลักการ ทฤษฎี หรือวิธีการที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาโครงงาน ซึ่งรวมถึงการระบุผลงานของผู้อื่นที่ผู้เรียนนำมาเปรียบเทียบหรือพัฒนาเพิ่มเติมด้วย
 
4. วิธีดำเนินการ อธิบายขั้นตอนการดำเนินงานโดยละเอียด  ระบุปัญหาหรืออุปสรรคที่พบ วิธีการที่ใช้แก้ไข พร้อมทั้งระบุวัสดุอุปกรณ์ ที่ต้องใช้ในการทำงาน
 
5. ผลการศึกษา นำเสนอข้อมูล หรือระบบที่พัฒนาได้ โดยอาจแสดงเป็นตาราง หรือ กราฟ หรือข้อความ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเข้าใจของผู้อื่นเป็นหลัก
 
6. สรุปผลและข้อเสนอแนะ การสรุปผลการดำเนินงาน เป็นการอธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำงาน ถ้ามีการตั้งสมมติฐานควรระบุด้วยว่าข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือยังสรุปไม่ได้
นอกจากนั้นยังควรกล่าวถึงการนำผลการทดลองหรือพัฒนาไปใช้ประโยชน์ อุปสรรคของการทำโครงงาน หรือข้อสังเกตที่สำคัญ หรือข้อผิดพลาดบางประการที่เกิดขึ้นจากการทำโครงงานนี้ ส่วนข้อเสนอแนะในโครงงาน
ควรมีเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงงาน หากจะมีผู้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องทำนองนี้ต่อไปในอนาคตด้วย นอกจากนี้ควรกล่าวถึงประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน ระบุประโยชน์ที่ผู้เรียนได้รับจากการพัฒนาโครงงานนั้น
และประโยชน์ที่ผู้ใช้จะได้รับจากการนำผลงานของโครงงานไปใช้ด้วย
 
7. บรรณานุกรม รวบรวมรายชื่อหนังสือ วารสาร เอกสาร และ/หรือเว็บไซต์ต่างๆ ที่ผู้ทำโครงงานใช้ค้นคว้า หรืออ่านเพื่อศึกษาข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำโครงงานนี้ ต้องศึกษาค้นคว้า
จากแหล่งต่าง ๆ อย่างน้อย 5 แหล่ง การเขียนเอกสารบรรณานุกรมต้องให้ถูกต้องตามหลักการเขียนด้วย
8. คู่มือการใช้งาน หากโครงงานที่ผู้เรียนจัดทำเป็นการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมา ให้ผู้เรียนจัดทำคู่มือวิธีการใช้งาน ด้วย

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

 

ที่มา :: https://kuntapee02.wordpress.com/2014/08/17/17/